สมองของเรานั้นเป็นอย่างไร ???

สมองส่วนหน้า ( สีส้ม ) สมองส่วนกลาง ( สีม่วง ) และสมองส่วนหลัง ( สีน้ำเงิน )

สมองส่วนหน้า  ( Frontal lobe )






มีขนาดใหญ่ที่สุด มีรอยหยักเป็นจำนวนมาก สามารถแบ่งออกได้อีก 4 ส่วนหลักๆดังนี้

             1. ออลเฟกทอรีบัลบ์  ( olfactory bulb ) อยู่ด้านหน้าสุด ทำหน้าที่ - ดมกลิ่น ( ปลา,กบและสัตว์เลื้อยคลานสมองส่วนนี้จะมีขนาดใหญ่ ) ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมออลแฟกทอรีบัลบ์จะไม่เจริญ แต่จะดมกลิ่นได้ดีโดยอาศัยเยื่อบุในโพรงจมูก


             2. ซีรีบรัม  ( Cerebrum ) มีขนาดใหญ่สุด มีรอยหยักเป็นจำนวนมาก ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ ความสามารถต่างๆ เป็นศูนย์การทำงานของกล้ามเนื้อ การพูด การมองเห็น การดมกลิ่น การชิมรส แบ่งเป็นสองซีก แต่ละซีกเรียกว่า Cerebral hemisphere 


             ลักษณะที่สำคัญ

             1.ชั้นอกหนาประมาณ 3 มิลลิเมตร เรียกว่า เซรีบรัมคอร์เทกซ์ ( cerebrum cortex ) มีรอยพับเป็นร่องหรือรอยหยักจำนวนมาก และมีเนื้อสมองสีเทา ที่ประกอบด้วยตัวเซลล์ประสาทจำนวนมากและใยประสาทที่ไม่มีเยื้อหุ้มไมอีลินหุ้มเป็นส่วนใหญ่
             2.ภายใต้เซรีบรัมคอร์เทกซ์ เป็นชั้นหนาของเนื้อสีขาว ประกอบด้วย แอกซอนที่มีเยื่อไมอีลินหุ้มเป็นส่วนใหญ่ ทำให้มีลักษณะเป็นสีขาวเนื่องจากเยื่อไขมันไมอีลิน
             3.เซรีบรัมแบ่งออกเป็น 2 ซีกด้วยร่องลึกตรงกลาง มีมัดเส้นใยแอกซอนหลายมัดติดต่อระหว่าง 2 ซีก มัดใหญ่ที่สุดเรียกว่า corpus callosum สมองแต่ละซีกทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อซีกตรงข้ามของร่างกาย
             4.ร่องหรือรอยหยักแบ่งเซรีบรัมคอร์เทกซ์ออกเป็นส่วนๆชัดเจน 4 พู (lobe) ได้แก่
                       4.1) Frontal lobe ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อลาย ( motor area )  การออกเสียง ความคิด ความจำ สติปัญญา บุคลิก ความรู้สึก พื้นอารมณ์
                          4.2) Temporal lobe ทำหน้าที่ควบคุมการได้ยิน ( auditory area ) ควบคุมความจำ 
( memory area ) การดมกลิ่น
                          4.3) Occipital lobe ทำหน้าที่ควบคุมการมองเห็น ( visual area ) เช่น การเพ่งมอง การแปลสิ่งที่มอง 
                          4.4) Parietal lobe ทำหน้าที่ควบคุมการรับความรู้สึกสัมผัส ( sensory area ) การพูด การรับรส
     
             3. ไฮโพทาลามัส  ( Hypothamus ) เป็นสมองส่วนที่เป็นทางติดต่อกับเซรีบรัมกับก้านสมอง โดยไฮโพทาลามัสอยู่ใต้ทาลามัส และค่อนไปทางด้านหน้าติดกับต่อมใต้สมองส่วนหน้า ( pituitary gland )

     หน้าที่ของไฮโพทาลามัส             
            มีหน้าที่หลักเกี่ยวข้องกับการผสมผสานการทำงานของระบบประสาทกับอวัยวะต่างๆให้สอดคล้องกัน
1) ศูนย์ควบคุมการเต้นของหัวใจ ( cardiovascular regulation )
2) ศูนย์ควบคุมอุณหภูมิ ( body temperature regulation )
3) ศูนย์ควบคุมสมดุลน้ำและเกลือแร่ ( regulation of water and electrolyte balance )
4) ศูนย์ควบคุมการนอนหลับ ความหิว ความอิ่ม ความกระหาย 
5) ศูนย์ควบคุมอารมณ์และความรู้สึกต่างๆ
6) สร้างฮอร์โมนประสาทที่ส่งไปควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของต่อมใต้สมองส่วนหน้า

             4. ทาลามัส  ( Thalamus ) เป็นศูนย์รวมกระแสที่ผ่านเขาออก และแยกกระแสประสาทไปยังสมองที่ เกี่ยวกับประสาทนั้น หรืออาจเรียกว่าเป็นสถานีถ่ายถอดกระแสประสาทเพื่อส่งไปยังจุดต่างๆ ในสมอง และยังทำหน้าที่ในการรับรู้ความเจ็บปวด ทำให้มีการสั่งการ และสดงออกด้านพฤติกรรมด้านความเจ็บปวด
             ทาลามัสอยู่เป็นคู่ตั้งอยู่ใจกลางสมองของสัตว์มี กระดูกสันหลังรวมทั้งมนุษย์ด้วย ทาลามัสอยู่ระหว่างเปลือกสมองใหญ่ ( Cerebral Cortex ) กับสมองส่วนกลาง ( Mid brain ) ที่ตั้งอยู่ใจกลาง และเป็นศูนย์ศูนย์รวมประสาทสั่งการ มีหน้าที่ส่งผ่านกระแสประสาทประสาทสัมผัสจำเพาะ ( Special Sense )และส่งผ่านไปยัง ( Cerebral Cortex ) หรือเปลือกสมองใหญ่ เป็นไปตามภาวะปกติของความมีสติ ( Conciousness ) ในยามหลับและยามตื่น ทาลามัสจะห้อมล้อมรอบๆ เซอด เวนตริเคิล ( Third Ventricle )
             มันเป็นผลผลิตหลักของเอ็มบริโอนิค ไดเอนซีฟาโลน ( Cmbryonic Diencephalon ) หรือตัวอ่อนของสมองส่วนกลางทาลามัสเป็นโครงสร้างใหญ่สุดของสมองส่วนกลาง ซึ่งเป็นส่วนของสมองที่ตั้งอยู่ระหว่างสมองส่วนกลาง ( Mid brain ) มีเซนซีฟาโลน และสมองส่วนหน้า เทเลซีฟาโลน ( Telecephalon ) ในมนุษย์ ครึ่งหนึ่งของทาลามัสแต่ละอันมีรูปร่างเหมือนจุกยางกลมๆคล้ายปลายเทอร์โมมิเตอร์ สามารถบีบและคลายตัวได้ด้านสรีระ
             ทาลามัสอยู่บนสุดของก้านสมอง ใกล้กลับใจกลางของสมองอยู่ในตำแหน่งที่สามารถส่งกระแสประสาทออกไปสู้ส่วน ต่างของสมองได้ในทุกทิศทางสมองส่วนกลาง ( Diencephalon ) ยังประกอบด้วย อิพทาลามัส ( Epithalamus ) และเรติลูเลทนิวเคลียส ( Reticulate Nucleus )
      

             หน้าที่โดยทั่วไปของมาลามัส คือ ส่งผ่านระหว่าง ซับตอร์ทีคอล ( Subcortical ) และเปลือกสมองใหญ่ ( Cerebral Cortex ) หน้าที่สำคัญ คือ ช่วยในการทำงานของระบบสัมผัส ( Special Sense ) ทาลามิคนิวเคลียสจะรับและส่งต่อข้อมูลไปยังส่วนแรกของคอร์ทีคอล ( Cortical Area ) เช่นรับภาพจากจอภาพตาหรือเรตินาแล้วส่งไป เลเทอรัล เจนิคูเลท นิวเคลียส ( Lateral Geniculate Nucleus ) ในทาลามัสซึ่งจะฉ่ายไปสู่ส่วนแรกของสมองที่รับรู้ความรู้สึกในการมองเห็น ไพรมารี วิซอน คอร์เทกซ์ ( Primary visval cortex ) ในกรีบท้ายทอยหรือออคซิพิตัลลู๊บ ( Occital Lode ) ทาลามัสจะดำเนินการทั้งรับรู้ข้อมูลและส่งผ่านข้อมูลทาลามัสจะคอยควบคุมความมี สติ การตื่นเต้นการระมัดระวังการแสดงออก ถ้าทาลามัสถูกทำลาย จะทำให้ร่างกายเกิดอาการเจ็บปวดรุนแรงที่เรียกว่าโคม่า



สมองส่วนกลาง ( Midbrain )


             เป็นสมองที่ต่อจากสมองส่วนหน้า เป็นสถานีรับส่งประสาท ระหว่างสมองส่วนหน้ากับส่วนท้ายและส่วนหน้ากับนัยน์ตาทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตาและม่านตาจะเจริญดีในสัตว์พวกปลา กบ ฯลฯ ในมนุษย์สมองส่วน obtic lobe นี้จะเจริญไปเป็น Corpora quadrigermia ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยิน สมองส่วนกลาง หรือ มีเซนเซฟาลอน (Mesencephalon; Midbrain) เป็นโครงสร้างหนึ่งของสมอง ประกอบด้วยเทคตัม ( Tectum ) หรือคอร์พอรา ควอไดรเจมินา ( Corpora quadrigemina ), เทกเมนตัม ( Tegmentum ) , เวนทริคิวลาร์ มีโซซีเลีย ( Ventricular mesocoelia ), และซีรีบรัล พีดังเคิล ( Cerebral peduncle ) นอกจากนี้ก็มีนิวเคลียสและมัดใยประสาทจำนวนมากมาย ด้านบนของสมองส่วนกลางเชื่อมกับไดเอนเซฟาลอน ( Diencephalon ) ซึ่งประกอบด้วยทาลามัส ไฮโปทาลามัส ฯลฯ ส่วนด้านท้ายของสมองส่วนกลางเชื่อมกับพอนส์ ( Pons ) สมองส่วนกลางเป็นส่วนหนึ่งของก้านสมอง ภายในมีส่วนเรียกว่าซับสแตนเชีย ไนกรา ( Substantia nigra ) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมระบบสั่งการของเบซัล แกงเกลีย ( Basal ganglia ) ซึ่งริเริ่มและควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย สมองส่วนกลางพัฒนามาจากกระเปาะกลางของท่อประสาทหรือนิวรัล ทูบ ( Neural tube ) ซึ่งจะพัฒนาเป็นสมองส่วนต่างๆ ต่อไป ในจำนวนกระเปาะทั้งสามของนิวรัล ทูบ พบว่าสมองส่วนกลางเป็นส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงระหว่างพัฒนาการน้อยที่สุดทั้งในแง่รูปแบบพัฒนาการและโครงสร้างภายในของมันสมองส่วนกลางของมนุษย์มีต้นกำเนิดเดียวกับ archipallium ซึ่งเป็นวิวัฒนาการของสมองในสัตว์มีกระดูกสันหลังโบราณส่วนใหญ่ สารโดพามีนซึ่งสร้างในซับสแตนเชีย ไนกรามีบทบาทในการปรับตัวและการจูงใจในสิ่งมีชีวิตตั้งแต่มนุษย์ไปจนถึงสัตว์ชั้นต่ำอย่างเช่นแมลง



สมองส่วนท้าย ( Hindbrain )

             1. พอนส์ ( Pons ) อยู่ด้านหน้าของซีรีเบลลัม ติดกับสมองส่วนกลาง ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานบางอย่างของร่างกาย เช่น การเคี้ยวอาหาร การหลั่งน้ำลาย การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า การหายใจ การฟัง
             2. เมดัลลา ( Medulla ) เป็นสมองส่วนท้ายสุด ต่อกับไขสันหลัง เป็นทางผ่านของกระแสประสาทระหว่างสมองกับไขสันหลัง เป็นศูนย์กลางการควบคุมการทำงานเหนืออำนาจจิตใจ เช่น ไอ จาม สะอึก หายใจ การเต้นของหัวใจ เป็นต้น
             3. ซีรีเบลลัม ( Cerebellum ) หรือ สมองน้อย ( Cerebellum ) เป็นบริเวณของสมองที่ทำหน้าที่สำคัญในการประมวลการรับรู้และการควบคุมการสั่งการ เนื่องจากซีรีเบลลัมทำหน้าที่ประสานการควบคุมการสั่งการ จึงมีวิถีประสาทเชื่อมระหว่างซีรีเบลลัมและคอร์เท็กซ์สั่งการของซีรีบรัม (ซึ่งจะส่งข้อมูลไปยังกล้ามเนื้อเพื่อเคลื่อนไหว) และลำเส้นใยประสาทสไปโนซีรีเบลลาร์ ( Spinocerebellar tract ) ( ซึ่งทำหน้าที่ส่งข้อมูลการรับรู้อากัปกิริยาจากไขสันหลังกลับมายังซีรีเบลลัม ) ซีรีเบลลัมทำหน้าที่ประมวลวิถีประสาทต่างๆ โดยใช้ข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งของร่างกายและการเคลื่อนไหวละเอียดที่ส่งกลับเข้ามา รอยโรคที่เกิดในซีรีเบลลัมไม่ก่อให้เกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือทำให้เกิดอัมพาต แต่จะเกิดความผิดปกติในการส่งข้อมูลกลับซึ่งทำให้เกิดความผิดปกติในการเคลื่อนไหวละเอียด, การรักษาสมดุล, ท่าทางและตำแหน่งของร่างกาย, และการเรียนรู้การสั่งการ การสังเกตของนักสรีรวิทยาในช่วงศตวรรษที่ 18 บ่งชี้ว่าผู้ป่วยที่เกิดความเสียหายที่ซีรีเบลลัมจะมีปัญหาในการประสานการสั่งการ ( Motor coordination ) และการเคลื่อนไหว การวิจัยเกี่ยวกับหน้าที่ของซีรีเบลลัมในช่วงต้นถึงกลางศตวรรษที่ 19 จะศึกษาจากรอยโรคและการลองตัดซีรีเบลลัมในสมองของสัตว์ทดลอง นักวิจัยทางสรีรวิทยาได้บันทึกว่ารอยโรคดังกล่าวทำให้สัตว์มีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ, ท่าเดินเงอะงะ, และกล้ามเนื้ออ่อนแรง จากการสังเกตในช่วงเวลานั้นทำให้เกิดข้อสรุปว่าซีรีเบลลัมเป็นโครงสร้างเกี่ยวกับการควบคุมการสั่งการ อย่างไรก็ตามในการวิจัยสมัยใหม่แสดงว่าซีรีเบลลัมมีหน้าที่ที่หลากหลายกว่าไม่ว่าจะเป็นหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนการคิด ( ประชาน; Cognition ) , เช่น ความใส่ใจ, และกระบวนการทางภาษา, ดนตรี, และสิ่งกระตุ้นชั่วคราวอื่นๆ ซีรีเบลลัมตั้งอยู่บริเวณด้านหลังเยื้องด้านล่างของศีรษะ ( บริเวณสมองส่วนท้าย ( Rhombencephalon )) ด้านหลังของพอนส์ ( Pons ) และด้านล่างกลีบท้ายทอย ( Occipital lobe ) ของซีรีบรัม ซีรีเบลลัมประกอบด้วยเซลล์แกรนูล ( Granule cell ) ขนาดเล็กๆ จำนวนมาก ส่วนนี้จึงมีเซลล์ประสาทมากกว่า 50% ของสมองทั้งหมด แต่มีปริมาตรเพียง 10% ของปริมาตรสมองรวม ซีรีเบลลัมรับใยประสาทนำเข้ามากถึงประมาณ 200 ล้านใย ในขณะที่เส้นประสาทตา ( Optic nerve ) ประกอบด้วยใยประสาทเพียงหนึ่งล้านใย ซีรีเบลลัมแบ่งออกเป็นครึ่งซ้ายและขวาเช่นเดียวกับซีรีบรัม และแบ่งออกเป็นกลีบย่อยๆ 10 กลีบ การเรียงตัวของเซลล์ประสาทในซีรีเบลลัมมีลักษณะเป็นแบบเดียวกันทั้งหมด คือเชื่อมต่อเป็นชุดของวงจรในแนวตั้งฉาก การเรียงตัวเป็นแบบเดียวกันดังกล่าวทำให้ง่ายต่อการศึกษาวงจรประสาท



เป็นคลิปสรุปเกี่ยวกับสมองในเรื่องโครงสร้างและหน้าที่

เพิ่มเติม:ส่วนประกอนอื่นๆ



ต่อมใต้สมอง

             ต่อมใต้สมอง ( Pituitary ) ซึ่งผลิตฮอร์โมนหลายชนิดทั้งที่ทำหน้าที่โดยตรงและกระตุ้นการทำงานของ ของต่อมไร้ท่ออื่นด้วย  ต่อมใต้สมองถูกกำกับโดยส่วนของสมองที่เรียกว่า “ไฮโปธาลามัส” ซึ่งถือว่าเป็นจุดสำคัญในการเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างการทำงาน ของ ระบบประสาท กับ ระบบต่อมไร้ท่อ เพื่อทำให้เกิดภาวะสมดุลหรือ homeostasis โดยต่อมใต้สมองสามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วนดังนี้


1.  ต่อมใต้สมองส่วนหน้า ( anterior lobe of pituitary gland )
2.  ต่อมใต้สมองส่วนหน้า ( anterior lobe of pituitary gland )
3.  ต่อมใต้สมองส่วนหลัง ( Posterior lobe )

             ต่อมใต้สมองส่วนต่างๆ สามารถผลิตฮอร์โมนได้ดังนี้

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ( anterior lobe of pituitary gland )
             เป็นส่วนที่ไม่ได้เกิดจากเนื้อเยื่อประสาท การทำงานอยู่ภายใต้การควบคุมของ hypothalamus สร้างฮอร์โมนประเภทสารโปรตีน หรือพอลิเพปไทด์ ได้แก่





ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนกลาง ( Intermediate lobe )

             มีขนาดเล็กมากทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน Melanocyte Stimulating Hormone ( MSH ) ทำหน้าที่ปรับสีของสัตว์เลือดเย็นให้เข้มขึ้น ( ทำหน้าที่ตรงข้ามกับ Malatonin จากต่อม pineal ) ในสัตว์เลือดอุ่นมีหน้าที่ไม่แน่ชัด

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง ( Posterior lobe )
             เป็นกลุ่มเซลล์ของเนื้อเยื่อประสาทจาก hypothalamus ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนภายนอก แล้วลำเลียงมาไว้ที่ต่อมใต้สมองส่วนหลัง ได้แก่
             1) Oxytocin ทำให้กล้ามเนื้อมดลูก เต้านม กระเพาะปัสสาวะมีการหดตัว ฮอร์โมนนี้จะมีการหลั่งออกมาตอนคลอดลูกและในขณะร่วมเพศ แต่ถ้าหลั่งออกมามากก่อนคลอดจะทำให้แท้งลูกได้

             2) Vasopressin หรือ Antidiuretic hormone ( ADH ) ทำให้เส้นเลือดมีการหดตัวช่วยให้ท่อหน่วยไตดูดน้ำกลับคืน ทำให้ลดการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ที่จำเป็น ถ้าร่างกายขาดจะปัสสาวะมากทำให้เกิดโรคเบาจืด ( diabetes inspidus )



ไขสันหลัง ( Spinal cord )
             ไขสันหลัง เป็นอวัยวะหนึ่งของระบบประสาทส่วนกลาง ที่อยู่ในช่องกระดูกสันหลัง มีรูป ร่างเป็นท่อยาวต่อจากสมองลงมา โดยเริ่มต้นจากช่องกระดูกต้นคอข้อแรก ( มีทั้งหมด 7 ข้อ ) ไปจนถึงช่องกระดูกเอวข้อที่ 1-2 ( มีทั้งหมด 5 ข้อ )


             ไขสันหลังมีหน้าที่รับและส่งสัญญาณต่างๆ ( กระแสประสาท หรือ Neural signal ) ระ หว่างสมองและเส้นประสาทของเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย เพื่อเชื่อมต่อการทำงานระ หว่างสมองและเส้นประสาทต่างๆเหล่านั้น และเนื่องจากเป็นอวัยวะในระบบประสาทส่วนกลางเช่นเดียวกับสมอง โรคไขสันหลัง หรือโรคต่างๆของไขสันหลังจึงคล้ายคลึงกับโรคสมอง โดย เฉพาะการเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต แต่จะแตกต่างกันที่ อัมพฤกษ์ อัมพาตจากไขสันหลัง จะเกิดกับทั้งแขน และ/หรือขาพร้อมกันทั้งด้านซ้ายและด้านขวา แต่ถ้าเกิดจากสมอง อาการอัมพฤกษ์ อัมพาตจะเกิดกับแขนและขาเพียงซีกเดียวคือ ถ้าซ้ายก็ซ้ายทั้งแขนและขา ถ้าขวาก็ขวาทั้งแขนและขา

ที่มา: 
http://th.wikipedia.org/wiki/
http://atcloud.com
http://www.novabizz.com/
http://www.vcharkarn.com
http://haamor.com/th/ไขสันหลัง/
https://surasa5651.wordpress.com
http://jakkapantip.blogspot.com




Comments

Popular posts from this blog

สมองของเรานั้นทำอะไรบ้าง??? เรื่องการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ

สมองของเรานั้นทำอะไรบ้าง??? เรื่องประสาทรับความรู้สึก