สมองของเรานั้นทำอะไรบ้าง??? เรื่องการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ
การควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า การควบคุมการทำงานพื้นฐานของการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ในเด็กแรกคลอด จะเป็นไปอย่างไม่มีวัตถุประสงค์ เด็กอายุ 1-2 เดือนจะไม่ ไขว่คว้าของเล่น แต่ก็มีการเคลื่อนไหวของแขน ขา มือ และ เท้า ซึ่งสมองส่วนเซนซอรี่มอเตอร์คอร์เท็กซ์ สมองส่วนทาลามัส และ สมองส่วนเบซาลแกงเกลีย ที่มีเส้นใยประสาท และไขมันค่อนข้างครบถ้วน เมื่อแรกคลอดจะทำหน้าที่พื้นฐานนี้
เมื่อเด็กโตขึ้นสมองมีการเจริญเติบโต พัฒนาการเพิ่มขึ้น ก็จะมีการทำงานอย่างมีวัตถุประสงค์ เช่น เด็ก 4-5 เดือนก็จะเริ่มไขว่คว้า ของเล่น ซึ่งต้องอาศัยการประสานงานของประสาทการเห็น และการทำงานของกล้ามเนื้อ สมองส่วนหลังของฟรอนทอลโลบ ที่ติดกับ พารายทอลโลบ จะควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อของร่างกาย เช่น สั่งให้ยกมือขึ้นไปจับของเล่นการควบคุมการทำงาน ของกล้ามเนื้อก็เป็นเช่น เดียวกับ ประสาทการรับความรู้สึกโดยที่จะมีแผนที่ในสมอง สมองข้างซ้าย จะควบคุมการทำงาน ของกล้ามเนื้อข้างขวา ส่วนสมองข้างขวาจะควบคุมการทำงาน ของกล้ามเนื้อข้างซ้าย รวมถึงกล้ามเนื้อใบหน้า การหลับตา การขยับปาก และแขนขาด้วยเช่น กัน คนไข้ที่มีเส้นเลือดตีบ เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงสมองบางส่วนได้ สมองส่วนนั้นก็จะหยุดทำงาน คนไข้จะเป็นอัมพาต ไม่สามารถจะขยับแขนขาข้างตรงข้ามกับสมองที่ขาดเลือดได้
การทำงานของกล้ามเนื้อ แบ่งออกเป็น การทำงานของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ และการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็ก ตัวอย่างของการทำงานของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น การเดิน การยกมือ การขยับแขนขา การขึ้นลงบันได การถีบจักรยาน ในขณะที่การทำงานของ กล้ามเนื้อมัดเล็กจะเกี่ยวข้องกับการเขียนหนังสือ การติดกระดุม การผูกเชือก การวาดรูป การทำงานฝีมือ การทำงานเหล่านี้ถ้าหากขาดการฝึกฝนตั้งแต่เล็ก ก็จะทำให้ไม่มีทักษะนั้น ๆ ซึ่งอาจจะเป็นทักษะการทำงาน ของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ หรือทักษะการทำงานของ กล้ามเนื้อมัดเล็กก็ได้
กล้ามเนื้อ ( Muscle ) เป็นเนื้อเยื่อที่หดตัวได้ในร่างกาย เปลี่ยนแปลงมาจากเมโซเดิร์ม ( Mesoderm ) ของชั้นเนื้อเยื่อในตัวอ่อน และเป็นระบบหนึ่งของร่างกายที่สำคัญต่อการเคลื่อนไหวทั้งหมดของร่างกาย แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ กล้ามเนื้อโครงร่าง ( Skeletal muscle ) กล้ามเนื้อเรียบ ( Smooth muscle ) และกล้ามเนื้อหัวใจ ( Cardiac muscle )
ระบบกล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้อทำหน้าที่หดตัวเพื่อให้เกิดแรงและทำให้เกิดการเคลื่อนที่ ( Motion ) รวมถึงการเคลื่อนที่และการหดตัวของอวัยวะภายใน กล้ามเนื้อจำนวนมากหดตัวได้นอกอำนาจจิตใจ และจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น การบีบตัวของหัวใจ หรือการบีบรูด ( Peristalsis ) ทำให้เกิดการผลักดันอาหารเข้าไปภายในทางเดินอาหาร การหดตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจมีประโยชน์ในการเคลื่อนที่ของร่างกาย และสามารถควบคุมการหดตัวได้ เช่นการกลอกตา หรือการหดตัวของกล้ามเนื้อควอดริเซ็บ ( Quadriceps muscle ) ที่ต้นขา
หน้าที่สำคัญของกล้ามเนื้อ
1) คงรูปร่างท่าทางของร่างกาย ( Maintain Body Posture )
2) ยึดข้อต่อไว้ด้วยกัน ( Stabilize Joints )
3) ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหว ( Provide Movement ) โดยการเปลี่ยนพลังงานที่ได้จากสารอาหารมาเป็นพลังงานกล ( Mechanical Energy ) หรือพลังงานที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว
5) รักษาระดับอุณหภูมิของร่างกาย ( Maintain Body Temperature ) โดยผลิตความร้อนออกมาตามที่ร่างกายต้องการ
ประเภทของกล้ามเนื้อ
1) กล้ามเนื้อเรียบ ( Smooth Muscle )
พบได้ที่อวัยวะภายในของร่างกาย และเป็นกล้ามเนื้อที่ทำงานอยู่ตลอด กล้ามเนื้อแบบนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า กล้ามเนื้อนอกอำนาจจิตใจ ( Involuntary Muscle ) เพราะเราไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อชนิดนี้ได้ สมองและร่างกายขจะสั่งให้กล้ามเนื้อเรียบทำงานด้วยตัวของมันเอง เช่น ในกระเพาะ ( Stomach ) และระบบการย่อยอาหาร ( Digestive System ) กล้ามเนื้อเหล่านี้จะหดตัวแน่นขึ้นและขยายตัวออก เพื่อให้อาหารเดินทางไปตามระบบย่อยอาหารส่วนอื่นๆของร่างกายได้
กล้ามเนื้อที่ประกอบขึ้นเป็นหัวใจมีชื่อเรียกว่ากล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อชนิดนี้เป็นกล้ามเนื้อนอกอำนาจจิตใจเหมือนกับกล้าม เนื้อเรียบ ทำให้เกิดการเต้นของหัวใจ ( Heart Beat ) อยู่ตลอดเวลา กล้ามเนื้อหัวใจจะบีบตัว ( Contract ) เพื่อดันเลือดส่งออกไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย และคลายตัว ( Relax ) เพื่อให้เลือดไหลกลับเข้ามาสู่หัวใจหลังจากที่ไหลวนไปสู่ส่วนอื่นๆของร่างกายแล้ว
3) กล้ามเนื้อลาย ( Skeletal Muscle )
กล้ามเนื้อลายเป็นกล้ามเนื้อภายใต้อำนาจจิตใจ ( Voluntary Muscle ) ชนิดเดียวในร่างกาย กล้ามเนื้อลายเป็นกล้ามเนื้อที่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อชนิดนี้ได้ กล้ามเนื้อลายจะห่อหุ้มโครงกระดูกของเราไว้ และทั้งสองอย่างจะทำงานร่วมกัน ทำให้ร่างกายสามารถทำงาน กล้ามเนื้อลายมีรูปร่างและขนาดที่หลากหลาย จึงทำงานได้หลากหลายรูปแบบ
การทำงานของกล้ามเนื้อ
เมื่อกล้ามเนื้อไบเซพหรือ Flexors คลายตัว กล้ามเนื้อไตรเสพหรือ Extensors จะหดตัว ทำให้แขนเหยียดออก ส่วนเมื่อกล้ามเนื้อไบเซพหรือ Flexors หดตัว กล้ามเนื้อไตรเสพหรือ Extensors จะคลายตัว ทำให้แขนงอเข้า
การรักษาให้ระบบกล้ามเนื้อแข็งแรง
1) ออกกำลังกาย ( Exercise ) การออกกำลังกายแบบแอโรบิค ( Aerobics Exercise ) จะช่วยทำให้หัวใจและปอดแข็งแรงขึ้น ส่วนการออกกำลังกายที่ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและมีขนาดใหญ่ขึ้นนั้นเรียกว่า การออกกำลังกายแบบ แอนแอโรบิค ( Anaerobics Exercise )
2) โภชนาการที่เหมาะสม ( Proper Nutrition ) การรับประทานผัก ธัญพืช และผลไม้ รวมถึงการดื่มน้ำมากๆ ลดความเครียด จะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อได้
กลไกการหดตัวของกล้ามเนื้อลาย
เส้นเยื่อไมโอไฟบริล ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการหดตัวของกล้ามเนื้อลาย ประกอบด้วยเส้นที่ประกอบด้วยโปรตีน ( Protein filament ) 2 ชนิด คือ
1) เส้นหนาประกอบด้วยโปรตีนหรือที่เรียกว่าเส้นใยไมโอซิน ( Myosin filament )
2) เส้นบางประกอบด้วยโปรตีนหรือที่เรียบว่าเส้นใยแอ็คทิน ( Actin filament )
เส้นใยทั้ง 2 เส้น ซึ่งมีจำนวนมากมายนี้ จะรวมตัวกันเป็นหน่วยเรียกว่า ซาร์โคเมีย ( Sarcomere ) และเส้นใยทั้ง 2 เส้น ซึ่งมีจำนวนมากมายในแต่ละซาร์โคเมีย จะทำให้กล้ามเนื้อลายมีลักษณะเป็นลายมืดและลายสว่างสลับกันไป
ถ้าเส้นใยกล้ามเนื้อลายถูกดึงออกจากกันแรงมากผิดปกติ ปลายของเส้นใยแอ็คทินภายในเขตเอแบนด์จะถูกดึงออกจากกัน ซึ่งจะทำให้เขตเอชโซน ( H - zone ) ปรากฏอยู่ตรงกลางของเขตเอแบนด์
กล้ามเนื้อลายจะหดตัวเมื่อเส้นใยไมโอซินและแอ็คทินเลื่อนเข้าหากัน ในขณะที่กล้ามเนื้อลายหดตัว เนื่องจากเส้นใยแอ็คทินยึดแน่นอยู่กับเส้นซีไลน์ ดังนั้น เมื่อเส้นซีไลน์ถูกดึงเข้าหากันก็จะทำให้ช่วงไอแบนด์และช่วงซาร์โคเมียหดตัวสั้นลงตามไปด้วย
ทฤษฎีการหดตัวของกล้ามเนื้อลายนี้เรียกว่า ทฤษฎีเส้นใยเลื่อนเข้าหากัน ( Sliding over the filaments theory )
ชนิดของเส้นใยกล้ามเนื้อลาย
ในสมัยก่อนนักกายวิภาคและสรีรวิทยาได้จำแนกเส้นใยกล้ามเนื้อลายออกเป็น 2 ชนิด คือ เส้นใยกล้ามเนื้อสีแดง และเส้นใยกล้ามเนื้อสีขาว การที่เส้นใยกล้ามเนื้อลายถูกจำแนกเป็นสีแดง และสีขาว เนื่องจากการสังเกตสีที่ประกอบเป็นส่วนใหญ่ของเส้นใยกล้ามเนื้อลายในการจำแนกเส้นใยกล้ามเนื้อลายประเภทนี้ เส้นใยกล้ามเนื้อลายสีแดง ถูกพิจารณาว่าเป็นเส้นใยกล้ามเนื้อลายที่หดตัวช้า ( Slow twitch fiber ) หรือที่เรียกย่อว่า เส้นใยกล้ามเนื้อลายแบบเอสที ( ST fiber ) เส้นใยกล้ามเนื้อลายชนิดสีแดง เป็นเส้นใยกล้ามเนื้อลายที่เหมาะสมกับการทำงานระยะยาว ซึ่งมักจะพบมากในกล้ามเนื้อลายที่ช่วยในการทรงรูปร่าง และกล้ามเนื้อลายที่มีหน้าที่ต่อต้านแรงโน้มถ่วงของโลก ส่วนเส้นใยกล้ามเนื้อลายสีขาวถูกพิจารณาว่าเป็นเส้นใยกล้ามเนื้อลายที่หดตัวเร็ว ( Fast twitch fiber ) หรือเรียกย่อๆ ว่า เส้นใยกล้ามเนื้อลายแบบเอฟที ( Ft fiber ) เส้นใยสีขาวมักจะพบมากในกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่เกี่ยวการงอ
ในปัจจุบันการจำแนกเส้นใยกล้ามเนื้อลาย จึงได้เปลี่ยนแปลงไปจากระบบเก่า ซึ่งจำแนกเส้นใยกล้ามเนื้อลายตามสีเป็นการจำแนกออกตามลักษณะการทำงานของเส้นใยกล้ามเนื้อลาย มีการค้นพบว่า เส้นใยกล้ามเนื้อลายสีขาว ซึ่งเป็นเส้นใยกล้ามเนื้อลายที่หดตัวเร็ว ยังสามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีก 2 ชนิด ซึ่งเส้นใยกล้ามเนื้อสีขาวทั้ง 2 ชนิด มีความแตกต่างกันในด้านการทำงานทางแง่สรีรวิทยา
ปีเตอร์ และคณะ ( Peter et al., 1972 ) ได้จำแนกเส้นใยกล้ามเนื้อลายตามลักษณะการทำงานให้เห็นได้ชัดเจน 3 ชนิด คือ
1) เส้นใยกล้ามเนื้อลายแบบหดตัวช้าและต้องใช้ออกซิเจนช่วยในการหดตัว ( Slow, Oxidative fiber ) หรือที่เรียกย่อๆ ว่า เส้นใยกล้ามเนื้อลายแบบเอสโอ ( SO Fiber )
2) เส้นใยกล้ามเนื้อลายแบบหดตัวเร็ว และต้องใช้ออกซิเจนตลอดจนกลูโคสช่วยในการหดตัว ( Fast, Oxidative, Glycolytic fiber ) หรือที่เรียกย่อๆ ว่า เส้นใยกล้ามเนื้อลายแบบเอฟโอจี ( FOG fiber )
3) เส้นใยกล้ามเนื้อลายแบบหดตัวเร็ว และต้องใช้กลูโคสช่วยในการหดตัวเพียงชนิดเดียว ( Fast glycolytic fiber ) หรือที่เรียกย่อๆ ว่า เส้นใยกล้ามเนื้อลายแบบเอฟจี ( FG fiber )
ดูโบวิทซ์และบรู๊ค ( Dubowitz and Brooke, 1973 ) ได้เรียกเส้นใยกล้ามเนื้อลายแบบเอสโอว่า เส้นใยกล้ามเนื้อลายชนิดที่ 1 ( Type I ) และได้เรียกเส้นใยกล้ามเนื้อลายแบบเอฟโอจีและแบบเอฟจีว่า เส้นใยกล้ามเนื้อลายชนิด 2 เอ และชนิด 2 บี ( Type IIaและ Type IIb ) ตามลำดับ
กล้ามเนื้อในส่วนต่างๆของร่างกาย
กล้ามเนื้อใบหน้าเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ตื้น คือ อยู่ใต้ผิวหนัง ( Subcutaneous tissue ) ด้านหนึ่งเกาะกับกระดูกหน้า อีกด้านหนึ่งติดกับผิวหนังของใบหน้าทำหน้าที่แสดงความรู้สึกบนใบหน้าในลักษณะต่าง ๆ เช่น ดีใจ เสียใจ โกรธ และแสดงอาการทางสีหน้า เช่น ยิ้ม หัวเราะร้องไห้ เป็นกล้ามเนื้อที่เน้นบุคลิกภาพของแต่ละคนได้เป็นอย่างดี กล้ามเนื้อที่ใช้แสดงความรู้สึกของใบหน้า ( Muscle of facial expression ) ที่สำคัญ ได้แก่
- Frontalis อยู่ที่หน้าผาก ทำหน้าที่ ยกคิ้วขึ้นลง ทำหน้าผากย่น
- Nasalis อยู่ที่จมูก ทำหน้าที่ หุบปีกจมูก เวลาดมกลิ่น
- Corrugator อยู่บริเวณคิ้ว–เหนือคิ้ว ทำหน้าที่ ขมวดคิ้ว ครุ่นคิด
- Orbiculalisocculi อยู่รอบดวงตา ทำหน้าที่ ปิดตา หรือหลับตา
- Zygomaticus major เกาะอยู่บริเวณโหนกแก้ม – ปากบน ทำหน้าที่ยกปาก
- Orbicularis oris อยู่บริเวณรอบปาก ทำหน้าที่ หุบปาก ทำริมฝีปากยื่น ทำปากจู๋
- Risorius อยู่ถัดออกมาทางด้านข้างของปาก ทำหน้าที่เวลาแสยะยิ้ม
กล้ามเนื้อเกี่ยวกับการเคี้ยว ( Muscle of mastication ) มี 4 มัด คือ Tempolaris muscle อยู่ที่ขมับด้านข้างของกระโหลกศรีษะ แผ่เป็นรัศมีเต็มขมับทำหน้าที่อ้า หุบและยื่นปาก เวลาเคี้ยวอาหาร Masseter muscle อยู่ด้านนอกมุมขากรรไกรล่างของใบหน้ารูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้าทำหน้าที่ยกกระดูกขากรรไกรล่างขึ้นเวลาเคี้ยวอาหาร Pterigiod muscle เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ลึกยื่นจากส่วนมาตรฐานของกระโหลกศรีษะไปยังบริเวณขากรรไกรล่าง มี 2 คู่ คือ External และ Internal pterigoid muscle ช่วยในการอ้าปาก หุบปาก เคลื่อนกรามไปทางด้านข้าง
กล้ามเนื้อคอ ( Muscle of the neck )
1) Sternomastoidหรือ Sternocleidomastoideusเป็นกล้ามเนื้อที่ใหญ่ที่สุดของคอเกาะพาดจากกระดูกหน้าอกกับกระดูกไหปลาร้าไปยังด้านนอกของกระดูก Mastoid และกระดูกท้ายทอย ทำหน้าที่เอียงคอ หันและหมุนคอ
2) Splenius capitisเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ด้านข้างของคอ มีจุดเกาะเริ่มจากกระดูกสันหลังส่วนลำตัว ( Thoracic spine ) อันที่ 3 และ 4 ไปยังจุดเกาะปลายที่กระดูกท้ายทอย ทำหน้าที่ยืดคอ เอียงคอและเงยหน้า
3) Semispinaliscapitisเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ด้านหน้าของคอ จุดเกาะต้นเริ่มจากกระดูกสันหลังส่วนคอ ( Cervical spine ) อันที่ 4 และ 5 ไปยังจุดเกาะปลายที่กระดูกท้ายทอย ทำหน้าที่ยืดคอ เอียงคอและเงยหน้า
กล้ามเนื้อส่วนลำตัว ( Muscle of the trunk )
กล้ามเนื้อส่วนลำตัว ( Muscle of the trunk ) แบ่งเป็นกล้ามเนื้อส่วนลำตัวด้านหน้าและด้านหลัง ดังนี้
1.1) Pectoralis minor เป็นกล้ามเนื้อรูปสามเหลี่ยมแบนเล็กอยู่ภายใต้กล้ามเนื้อPectoralis major เกาะจากผิวนอกของกระดูกซี่โครงซี่ที่ 3 – 5 ไปยัง Coracoid process ของกระดูกสะบัก ทำหน้าที่ดึงหัวไหล่ไปทางด้านหน้าและลงล่าง และช่วยรับน้ำหนักตัวขณะที่ยืนเอามือยัน
1.2) Pectoralis major เป็นกล้ามเนื้อทรวงอกมัดใหญ่รูปร่างคล้ายพัดคลุมอยู่บนอกและทับอยู่บนกล้ามเนื้อ Pectoralis minor และเป็นกล้ามเนื้อที่เกาะจากแนวกลางของกระดูกหน้าอกไปยังกระดูกต้นแขน เป็นกล้ามเนื้อที่เน้นลักษณะเพศชายได้ชัดเจนคือมีลักษณะอกผายไหล่ผึ่ง ทำหน้าที่หุบ งอ หมุนต้นแขนเข้าด้านใน ช่วยในการผลัก ขว้าง ปีนป่าย การหายใจเข้ารั้งแขนให้มาทางด้านหน้าทำให้ไหล่คงรูปอยู่กับที่
1.3) Rectus abdominisเป็นกล้ามเนื้อหน้าท้องมีลักษณะเป็นแถบยาวเป็นปล้อง ๆ เมื่อออกแรงเกร็งมีจุดเกาะต้นจากกระดูกหัวเหน่า ( Pubic bone ) ทอดขึ้นบนและค่อย ๆกว้างขึ้นไปเกาะที่ปลายผิวหน้าของกระดูก Xiphoid และกระดูกซี่โครงที่ 5, 6,7 ทำหน้าที่เกร็งช่องท้องเวลายกของหนัก ช่วยในการขับถ่ายและคลอดบุตร
1.4) Oblique externusหรือ External oblique เป็นกล้ามเนื้อลำตัวด้านข้างตั้งต้นจากกระดูกที่ 4 -12 ทอดเฉียงจากบนมาล่าง ยึดเกาะที่ Iliac crest ของกระดูกเชิงกรานทำหน้าที่เหมือนกับกล้ามเนื้อ Rectus abdominis
1.5) Serratus anterior เป็นกล้ามเนื้อด้านในของรักแร้ อยู่ทางด้านข้างของอกมีรูปร่างเป็นแฉก ๆ ยึดติดกับกระดูกซี่โครงทางด้านหน้าไปยังกระดูกสะบัก ทำหน้าที่ยึดดึงกระดูกสะบักให้อยู่กับที่และช่วยการทำงานของกล้ามเนื้อ Deltoid เวลายกแขน
2) กล้ามเนื้อส่วนลำตัวด้านหลังในส่วนลำตัวด้านหลัง มีกล้ามเนื้อที่สำคัญดังนี้
2.1) Trapezius เป็นกล้ามเนื้อรูปสามเหลี่ยมคลุมบริเวณคอด้านหลังลงมาถึงหลังโดยยึดเกาะจากแนวกลางของแผ่นหลังส่วนบนไปเกาะที่กระดูกไหปลาร้าทั้งซ้ายและขวา ทำหน้าที่รั้งกระดูกสะบักมาข้างหลัง กล้ามเนื้อส่วนบนเมื่อหดตัวไหล่จะยกขึ้น ส่วนกลางหดตัวจะดึงสะบัก 2 ข้างเข้ามาหากัน ส่วนล่างหดตัวจะทำให้ไหล่ถูกดึงลง
2.2) Latissimusdorsiเป็นกล้ามเนื้อรูปสามเหลี่ยมแบนกว้าง คลุมอยู่ตอนล่างของแผ่นหลังและบั้นเอวทอดผ่านไปมุมล่างของกระดูกสะบัก ทำหน้าที่ดึงแขนเข้าชิดลำตัวดึง แขน ลงมาข้างล่าง ด้านหลังและหมุนแขนเข้าด้านใน กล้ามเนื้อนี้ใช้มากในการปีนป่าย ว่ายน้ำ และกรรเชียงเรือ จะหดตัวทันทีในขณะที่จาม
กล้ามเนื้อส่วนหัวไหล่และแขน ( Muscle of the upper limb )
กล้ามเนื้อส่วนหัวไหล่และแขน ( Muscle of the upper limb ) ที่ช่วยในการทำงานของหัวไหล่และแขนที่สำคัญ คือ
1.1) Deltoid เป็นกล้ามเนื้อคลายขนนกหลาย ๆ อันมารวมกันเป็นมัดใหญ่หนารูปสามเหลี่ยมจุดเกาะอยู่ที่ไหปลาร้า และกระดูกสะบัก แล้วไปเกาะที่ตอนกลางของกระดูกต้นแขน ทำหน้าที่ยกไหล่และยกต้นแขน เป็นส่วนที่บ่งบอกลักษณะเพศชายได้อย่างชัดเจน
1.2) Supraspinatus เริ่มเกาะจากกระดูกสะบักไปยังกระดูกต้นแขน ทำหน้าที่ช่วยกล้ามเนื้อ Deltoid ในการยก หรือกางแขน
1.3) Infraspinatusเริ่มเกาะจากกระดูกสะบักไปยังกระดูกต้นแขน ทำหน้าที่หมุนต้นแขนออกด้านนอก และดึงแขนไปด้านหลัง
1.4) Teres minor และ Teres major เกาะที่กระดูกสะบัก แล้วมาเกาะที่กระดูกต้นแขนโดย Teres minor ทำหน้าที่หมุนแขนออกด้านนอก Teres major ทำหน้าที่หมุนแขนเข้าด้านใน
1.5) Subscapularisมีจุดเกาะที่กระดูกสะบักและกระดูกต้นแขน ทำหน้าที่หมุนต้นแขนเข้าด้านใน
2) กล้ามเนื้อแขนส่วนต้นที่สำคัญได้แก่
2.1) Biceps brachiiเป็นกล้ามเนื้อด้านหน้าของต้นแขน มีที่เกาะส่วนบนแยก 2 ทาง คือ เกาะจาก Coracoid process และ Supraglenoid tubercle ไปยัง Tuberosity ของกระดูกปลายแขนท่อนนอก ( Radius ) ทำหน้าที่งอต้นแขนและปลายแขน หมุนแขนเข้าและดึงออก
2.2) Brachialis เป็นกล้ามเนื้อต้นแขนที่อยู่ตรงกลางค่อนมาด้านล่าง เกาะจากกระดูกต้นแขนไปยัง Tuberosity ของกระดูกปลายแขนท่อนใน ( Ulna ) ทำหน้าที่งอข้อศอก
2.3) Coracobrachialisเกาะจาก Coracoid process ของกระดูกสะบักไปยังกึ่งกลางของกระดูกต้นแขน ทำหน้าที่งอต้นแขน
2.4) Triceps brachiiเป็นกล้ามเนื้อด้านหลังของต้นแขน ปลายบนแยก 3 ทางเกาะที่กระดูกสะบักหนึ่งที่ และอีก 2 ทางเกาะที่กระดูกต้นแขน และมีจุดเกาะปลายที่กระดูกปลายแขนท่อนใน ( Ulna ) กล้ามเนื้อมัดนี้จะทำหน้าที่ตรงกันข้ามกับกล้ามเนื้อ Biceps brachiiคือ ทำหน้าที่เหยียดปลายแขน
3)กล้ามเนื้อส่วนปลายแขน
3.1) Brachioradialisเป็นกล้ามเนื้อด้านนอกของปลายแขน มีจุดเกาะต้นที่ตอนล่างของกระดูกแขน ไปเกาะที่ด้านนอกของกระดูกปลายแขนท่อนนอก ( Radius ) ทำหน้าที่งอปลายแขน
3.2) Flexor carpi radialisเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ด้านหน้าของปลายแขน มีจุดเกาะที่กระดูกต้นแขนแล้วมาเกาะที่กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2 และ 3 ทำหน้าที่งอข้อมือและกางมือ
3.3) Palmaris longusเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ทางด้านหน้าของแขน จุดเกาะต้นเริ่มจากกระดูกต้นแขนไปยังกระดูกปลายแขน แล้วกลายเป็นเอ็น ( Tendon ) ไปเกาะที่ฝ่ามือทำหน้าที่งอข้อมือ
3.4) Flexor carpi ulnarisเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ทางด้านหลังของกระดูกปลายแขนท่อนใน ( Ulna ) ผ่านมาที่ข้อมือ ทำหน้าที่งอข้อมือ
3.5) Extensor carpi radialislongusเป็นกล้ามเนื้อที่มีจุดเกาะต้นจากกระดูกต้นแขนแล้วไปเกาะที่กระดูกฝ่ามือทางด้านหลัง ทำหน้าที่กางและเหยียดข้อมือ
3.6) Extensor digitorumเป็นกล้ามเนื้อที่มีจุดเกาะต้นจากกระดูกต้นแขน และมีปลายเป็นเอ็น 4 อัน ไปเกาะยังกระดูกนิ้วมือทั้ง 4 นิ้ว ทำหน้าที่เหยียดนิ้วมือและข้อมือ
4) กล้ามเนื้อส่วนมือและนิ้ว เป็นกล้ามเนื้อขนาดเล็กและสั้น ส่วนมากจะเป็นเอ็นของกล้ามเนื้อซึ่งติดต่อมาจากแขนท่อนล่าง ทำหน้าที่ช่วยในการงอและเหยียดมือและข้อมือรวมทั้งช่วยให้นิ้วหัวแม่มือสามารถเคลื่อนไปแตะนิ้วอื่น ๆ ได้จึงเรียกว่า Opposition กล้ามเนื้อในกลุ่มนี้ที่สำคัญ ได้แก่
4.1) Thenar eminence เป็นกล้ามเนื้อหัวแม่มือเกาะที่ฝ่ามือ โดยเฉพาะที่ได้ฐานหัวแม่มือจะเห็นเป็นเนินชัดเจน ทำหน้าที่งอนิ้วหัวแม่มือ
4.2) Hypothenar eminence เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้นิ้วก้อย มีรอยนูนเด่นชัด ทำหน้าที่งอนิ้วก้อย
4.3) Dorsal interosseusเป็นกล้ามเนื้อที่กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 1 และ 2 ผ่านมาเกาะที่นิ้วชี้ ทำหน้าที่กางนิ้วชี้และหมุนหัวแม่มือ
4.4) Abductor pollicisเกาะอยู่ที่ฐานของนิ้วหัวแม่มือ ทำหน้าที่งอนิ้วหัวแม่มือ
กล้ามเนื้อส่วนสะโพกและขา ( Muscle of the lower limb )
กล้ามเนื้อส่วนสะโพกและขา ( Muscle of the lower limb ) ที่สำคัญ ดังนี้
1.1) Gluteus maximusเป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่ และหน้าที่สุดของส่วนสะโพก มีจุดเกาะที่ Ilium และ Sacrum ของกระดูกเชิงกราน แล้วไปเกาะยังกระดูกต้นขา ทำหน้าที่เหยียดขา กางต้นขา หมุนต้นขา ไปทางด้านข้าง
1.2) Tensor fasciae lataeเป็นกล้ามเนื้อทางด้านข้างของสะโพก เกาะอยู่ที่ส่วนหน้าของกระดูกเชิงกรานทำหน้าที่กางและหมุนขาเข้าด้านใน
2)กล้ามเนื้อส่วนโคนขา กล้ามเนื้อส่วนนี้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ตามตำแหน่งหน้าที่ และประสาทที่มาเลี้ยง ด้านหลังของต้นขาเรียกว่า Flexor surface เป็นที่อยู่ของกล้ามเนื้อกลุ่มเอ็นหลังต้นขาด้าล่าง ( Hamstring group ) อีกกลุ่มหนึ่งคือ กล้ามเนื้อกลุ่มดึงข้อ ( Adductor group ) และยังมีกล้ามเนื้อกลุ่มด้านหน้าของต้นขา ( Anterior group ) กล้ามเนื้อส่วนโคนขามัดที่สำคัญ มีดังนี้
2.1) Biceps femorisเป็นกล้ามเนื้อในกล้ามเนื้อกลุ่มเอ็นหลังต้นขาด้านล่าง จุดเกาะเริ่มจากกระดูก Ischium และกระดูกต้นขาไปยังส่วนหัวของกระดูกปลายขาท่อนเล็ก ( Fibula ) ทำหน้าที่เหยียดต้นขาและงอเข่า
2.2) Rectus femorisเป็นกล้ามเนื้อในกลุ่มด้านหน้าของต้นขา ( Anterior group ) เป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่อยู่ทางด้านหน้าของต้นขา จุดเกาะเริ่มจากกระดูก lliumไปยังกระดูกปลายขาท่อนใหญ่ ( Tibia ) ทำหน้าที่งอต้นขาและเหยียดปลายขา
2.3) Satoriusเป็นกล้ามเนื้อในกลุ่มด้านหน้าของต้นขา มีลักษณะยาวแบนพาดเฉียงบนโคนขา จุดเกาะเริ่มจาก Iliac spine ไปยังส่วนบนของกระดูกปลายขาท่อนใหญ่ ( Tibia ) ทำหน้าที่งอต้นขา และปลายขา
3) กล้ามเนื้อส่วนปลายขา กล้ามเนื้อส่วนปลายขาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มด้านหน้าของปลายขา ( Anterior compartment ) กลุ่มด้านข้างของปลายขา ( Lateral compartment ) และกลุ่มด้านหลังของปลายขา ( Posterior compartment ) กล้ามเนื้อส่วนปลายขาที่สำคัญ ได้แก่
3.1) Tibialisanticusเป็นกล้ามเนื้อในกลุ่มด้านหน้าของปลายขา เกาะจากด้านข้างของกระดูกปลายขาท่อนใหญ่ ( Tibia ) และจากผังผืด ซึ่งยึดระหว่างกระดูกปลายขาท่อนใหญ่และท่อนเล็ก และเกาะที่กระดูกฝ่าเท้าทำหน้าที่กระดกข้อเท้า และบิดข้อเท้าเข้าด้านใน
3.2) Gastrocnemius เป็นกล้ามเนื้อในกลุ่มด้านหลังของปลายขา เป็นกล้ามเนื้อน่องเกาะจากส่วนปลายของกระดูกต้นขาทั้งสองด้าน ส่วนปลายกลายเป็นเอ็นเกาะที่กระดูกส้นเท้า ( Achillis tendon ) ทำหน้าที่งอหลังเท้า เหยียดนิ้วเท้า ถีบฝ่าเท้าลงและช่วยงอเข่าด้วย
3.3) Soleus เป็นกล้ามเนื้อใหญ่ รูปร่างคล้ายปลาอยู่ใน Gastrocnemius ทำหน้าที่งอฝ่าเท้า
4)กล้ามเนื้อส่วนเท้า
4.1) Flexor hallucislongusเกาะจากด้านหลังของกระดูกช่วงล่าง ส่วนปลายเป็นเอ็นเกาะที่กระดูกหัวแม่เท้า ท่อนปลายทำหน้าที่งอปลายนิ้วหัวแม่เท้า ทำหน้าที่กระดกข้อเท้าลง และบิดเท้าเข้าด้านใน
4.2) Extensor digitorumbrevisเป็นกล้ามเนื้อด้านหลังเท้า ตรงปลายเป็นเอ็นไปเกาะที่นิ้วเท้าทั้ง 4 ยกเว้นนิ้วหัวแม่เท้า ทำหน้าที่เหยียดข้อของนิ้วเท้าทั้ง 4
4.3) Adductor hallucisเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ลึกสุด ทำหน้าที่เหยียดหัวแม่เท้า
4.4) Flexor digitorumbrevisเป็นกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเท้า ทำหน้าที่ช่วยในการเคลื่อนไหว เป็นกล้ามเนื้อที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของเท้าเวลาเดิน
ที่มา :
https://anatomyfivelife.wordpress.com
https://nkw04932.wordpress.com
Comments
Post a Comment