สมองของเรานั้นทำอะไรบ้าง??? เรื่องประสาทรับความรู้สึก

ประสาทรับความรู้สึก ( Sensory system )
             ประสาทรับความรู้สึกมีหลายแบบ ได้แก่ ความรู้สึกสัมผัสเบา ๆ ความรู้สึกสัมผัสอย่างรุนแรง ความรู้สึกอุณหภูมิร้อนเย็น หรือความรู้สึก เจ็บปวด เช่น ถูกเข็มฉีดยา ถูกมีดบาด หรือถูกหยิก ซึ่งเส้นประสาทต่าง ๆ ที่นำความรู้สึกเหล่านี้จะมีขนาดแตกต่างกันด้วย ความรู้สึก สัมผัสเบา ๆ จะนำโดยเส้นประสาทขนาดใหญ่ ที่มีไขมันห่อหุ้มมาก ในขณะที่ความรู้สึกเจ็บปวดนำโดย เส้นประสาทขนาดเล็ก ที่มีไขมันห่อหุ้มน้อย หรือไม่มีเลย ผิวหนังของคนเราจะมีประสาทรับความรู้สึกต่าง ๆ และนำส่งต่อไปยังเส้นประสาทผ่าน ไขสันหลัง ขึ้นไปยังก้านสมอง และขึ้นไปถึงสมองส่วนใหม่ หรือนีโอคอร์เท็กซ์ ส่วนที่เรียกว่า พารายทอลโลบ สมองข้างซ้ายจะรับความรู้สึก จากร่างกาย และใบหน้าทางซีกขวา ขณะที่สมองข้างขวาจะรับความรู้สึกจากร่างกาย และใบหน้าทางซีกซ้าย ในสมองคนเราจะมีแผนที่ว่า ส่วนใดของสมองจะรับความรู้สึกจากส่วนใดของร่างกาย

             อวัยวะรับความรู้สึกของร่างกายต้องอาศัยองค์ประกอบ คือ ตัวรับความรู้สึก ( Receptors ) ทางรับ-ส่งกระแสความรู้สึก ( Afferent path ) และบริเวณบอกความรู้สึก ( Sensory areas ) ต่างๆ ใน Cerebrum  ปกติแล้วอวัยวะรับความรู้สึก ( Sense organs ) จะตอบสนองและรับรู้สิ่งเร้าจากสิ่งที่มันสามารถจะรับได้ โดยเฉพาะเท่านั้น เช่น ตารับรู้สิ่งเร้าจากแสงสว่าง หูรับเสียง เป็นต้น อวัยวะรับความรู้สึกนี้ จำแนกออกเป็น
             1. การเห็น ( Visual sensation )
             2. การได้ยินและการทรงตัว ( Sense of hearing and equilibrium )
             3. การได้กลิ่น ( Olfactory sense )
             4. การรับรส ( Taste or Gustatory sense )

1. การเห็น ( Visual sensation )
นนน
โครงสร้างของนัยน์ตา

โครงสร้างของลูกตา 
ผนังของลูกตาประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น คือ
             1) ชั้นนอกสุด ของลูกตาเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน fibrous coat แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
                          1.1) ชั้น sclera หรือ ตาขาว เป็นผนังตาชั้นนอกซึ่งหนา มีสีขาวทึบ แสงผ่านไม่ได้ ส่วนใหญ่ของตาขาวอยู่ภายในเบ้าตา ประมาณ 5/6 ทางด้านหลัง และมี optic nerve ทะลุเข้ามา
                          1.2) ส่วน cornea หรือ กระจกตา เป็นส่วนเยื่อที่คลุม 1/6 ทางด้านหน้าของลูกตา มีลักษณะใส โปร่งแสง ไม่มีหลอดโลหิต ส่วนนี้มีประโยชน์ คือ สามารถให้แสงผ่านเข้าไปในลูกตาได้
             2) ผนังตาชั้นกลาง ( Vascular coat ) มีลักษณะบางสำหรับให้เส้นเลือดและเส้นประสาทที่ตาทอดผ่านไป ชั้นนี้ประกอบด้วย
                          2.1) Choroid เป็นผนังบางอยู่ถัดจาก Sclera เข้ามา ในชั้นนี้มีเซลล์เม็ดสี ( Pigment cells ) และเซลล์อื่นๆ ประกอบเป็นร่างแห ทำให้มีสีเข้ม ทึบแสง ช่วยในการป้องกันการสะท้อนของแสง
                          2.2) Ciliary body อยู่ต่อจากส่วน Choroid มาทางด้านหน้า ประกอบด้วย Cilary muscle และ Ciliary process และที่ส่วนปลายของ Ciliary process นี้มี suspensory ligament ไปยึดกับเลนส์ ( Lens ) เมื่อมีการหดตัวของ Ciliary muscle ทำให้เกิดการดึง Lens ซึ่งจะส่งผลให้ Lens มีการปรับความหนา ช่วยในการปรับแสงให้ผ่านไปตกยังเรตินา ได้พอดี นอกจากนี้ Ciliary body ยังทำหน้าที่ผลิต Aqeous humor ด้วย
                          2.3) Iris หรือ ม่านตา อยู่หน้า Lens แต่อยู่หลัง Cornea ม่านตาถูกยึดด้วยกล้ามเนื้อ 2 ชนิด คือ
                          – Sphincter pupillae muscle ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณตรงกลางของ iris ควบคุมโดยระบบประสาท พาราซิมพาเธติก มีลักษณะการทอดตัวของใยกล้ามเนื้อเป็นวงกลม เมื่อมีการหดตัวของกล้ามเนื้อนี้ จะทำให้รูม่านตาหดเล็กลง ( Pupil constriction ) เช่น ในกรณีที่มีแสงผ่านเข้าตามากเกินไป
                          – Dilator pupillae จะอยู่บริเวณรอบนอกของ Iris โดยเส้นใยกล้ามเนื้อจะเรียงตัวกันเป็นรัศมีออกจากจุดศูนย์กลาง ควบคุมโดย ระบบประสาทซิมพาเธติก การหดตัวของกล้ามเนื้อ Dilator pupillae ทำให้ขนาดของรูม่านตาขยายใหญ่ขึ้น ( Pupil dilatation ) เช่น ในภาวะอยู่ในที่ที่มีแสงน้อย ซึ่งกลไกการการขยายหรือหดรูม่านตาต้องอาศัย Reflex ที่เรียกว่า Light reflex ร่วมกับการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ
สีของตาขึ้นอยู่กับจำนวนเม็ดสี ( Pigment ) ในม่านตาด้วย ถ้ามีเม็ดสีน้อยตาจะมีสีฟ้า ถ้ามีเม็ดสีอยู่มาก ตาจะเป็นสีเทา สีน้ำตาล หรือ สีดำ
             3) Retina เป็นส่วนที่อยู่ชั้นในสุดของลูกตา เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการรับภาพ ( Receptor ) ประกอบด้วยเซลล์ต่างๆ ที่สำคัญในการรับแสง คือ Rod cells และ Cone cells
             - Rod cells เป็นเซลล์รูปยาวทรงกระบอก มีความไวต่อแสงประกอบด้วยสีที่เรียกว่า Rhodopsin เป็นตัวรับแสง ทำหน้าที่ในการรับแสงหรือภาพ ขาว-ดำ และจะทำงานมากเมื่อมองภาพในที่สลัวหรือที่มีแสงน้อย
             - Cone cells เป็นเซลล์รูปกระสวย มีหน้าที่ในการรับแสงสีต่าง จะทำงานได้ดีในสถานที่ที่มีแสงเพียงพอเมื่อแสงผ่านเข้ามาในลูกตาและตกกระทบที่เรตินา เซลล์ทั้งสองชนิดนี้จะทำหน้าที่ส่งกระแสประสาทผ่านเซลล์ประสาทชั้นต่างๆ ที่อยู่ในเรตินาไปยัง Optic nerve ซึ่งทอดทะลุไปสู่เปลือกสมอง ( Cerebral cortex ) ส่วนที่ทำหน้าที่แปลเป็นสัญญาณภาพให้เราได้เห็นเป็นภาพ

เเเ
โครงสร้างและตำแหน่งของเซลล์ในชั้นเรตินา

กลไกการมองเห็น
             เยื่อหุ้มเซลล์รูปแท่งจะมีสารสีม่วงแดงชื่อ โรดอปซิน ( Rhodopsin ) ฝังตัวอยู่ สารชนิดนี้ประกอบด้วยโปรตีนออปซิน ( Opsin ) รวมกับสาร  เรตินอล ( Retinol ) ซึ่งไวต่อแสงจะมีการเปลี่ยนแปลง ดังแผนภาพที่ 3

cats-crop
การเปลี่ยนแปลงโรดอปซินในเซลล์รูปแท่ง

             เมื่อแสงมากระตุ่นเซลล์รูปแท่ง โมเรกุลของเรตินอลจะเปลี่ยนแปลงไปจนเกาะกับโมเลกุลของออปซินไม่ได้ ขณะนี้เองจะเกิดกระแสประสาทเดินทางไปยังเส้นประสาทสมองคู่ที่ 2 เพื่อส่งไปยังสมองให้แปลเป็นภาพ ถ้าไม่มีแสงออปซินและเรตินอลจะรวมตัวเป็นโรดอปซินใหม่
             สำหรับเรตินอลเป็นสารที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นได้จากวิตามินเอ ถ้าร่างกายขาดวิตามินเอจะทำให้เกิดโรคตาฟางในช่วงเวลาที่มีแสงสว่างน้อย เช่น ตอนพลบค่ำ
             เซลล์รูปกรวยแบ่งตามความไวต่อช่วงความยาวคลื่นของแสงได้ 3 ชนิด คือ เซลล์รูปกรวยที่ไวต่อแสงสีน้ำเงิน เซลล์รูปกรวยที่ไวต่อแสงสีแดง และเซลล์รูปกรวยที่ไวต่อแสงสีเขียว
             การที่สมองสามารถแยกสีต่างๆ ได้ มากกว่า3 สี เพราะมีการกระตุ้นเซลล์รูปกรวยแต่ละชนิดพร้อมๆ กันด้วยความเข้มของแสงสีต่างกัน จึงเกิดการผสมของแสงสีต่างๆ ขึ้น เช่น ขณะมองวัตถุสีม่วงเกิดจากเซลล์รูปกรวยที่มีความไวต่อแสงสีแดงและแสงสีน้ำเงินถูกกระตุ้นพร้อมกัน ทำให้เห็นวัตถุนั้นเป็นสีม่วง เป็นต้น ดังภาพที่ 4

uu
การมองเห็นแสงสีต่างๆ
                          
ความผิดปกติของสายตา 
             1.สายตาสั้น ( Myopia ) ส่วนใหญ่เกิดเนื่องจาก กระบอกตายาวเกินไป ส่วนน้อย เกิดจากเลนส์ ( Lens ) หรือ Cornea รวมแสงแล้วไม่ถึง Retina ภาพไม่ Focus บนจอตา ทำให้มองเห็นไม่ชัด
             2.สายตายาว ( Hypermetropia ) อาจเกิดเนื่องจากกระบอกตาสั้น เกินไป หรือ เพราะเลนส์ หรือ Cornea แบน ทำให้แสงที่ผ่านเข้าลูกตา ยาวเกิน Retina ไม่สามารถ โฟกัสได้บนจอตา การแก้ไข ต้องใช้แว่นเลนส์นูนช่วย เพื่อรวมแสงให้สั้นเข้า
             3.สายตาเอียง ( Astigmatism ) เป็นภาวะที่มองเห็นภาพไม่ชัด เนื่องจากส่วนโค้งของ Cornea หรือ Lens ไม่เท่ากัน ทำให้การหักเหของแสงตามแนวต่างๆ ไม่เท่ากัน การแก้ไขทำได้โดย ใช้แว่นกาบกล้วย ( Cylindrical lens ) เพื่อทำให้อำนาจการหักเหของแสงทุกแนวเท่ากันได้




2. การได้ยินและการทรงตัว ( Sense of hearing and equilibrium )
             หูเป็นอวัยวะรับสัมผัสที่ทำหน้าที่ทั้งการได้ยินเสียง และการทรงตัว หูของคนแบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือหูส่วนนอก หูส่วนกลาง และหูส่วนใน ดังภาพที่ 5
3_18
โครงสร้างภายในของหูคน
โครงสร้างภายในของหูคน
             1) หูส่วนนอก ( Outer ear ) ประกอบด้วยใบหูและช่องหูซึ่งนำไปสู่หูส่วยกลางใบหูมีกระดูกอ่อนค้ำจุนอยู่ ภายในหูมีต่อมสร้างไขมาเคลือบไว้ทำให้ผนังช่องหูไม่แห้ง และป้องกันอันตรายไม้ให้แมลงและฝุ่นละอองเข่าสู่ภายใน ต้านการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราได้ เมื่อมีมากจะสะสมกลายเป็นขี้หูซึ่งจะหลุดออกมาเอง จึงไม่ควรให้ช่างตัดผมแคะหูให้ เพราะอาจเป็นอันตราย ทำให้เยื่อแก้วหูขาดและกลายเป็นคนหูหนวก ตรงรอยต่อระหว่างหูส่วนนอกกับหูส่วนกลาง มีเยื่อบางๆกั้นอยู่เรียกว่า เยื่อแก้วหู ( Ear drum หรือ Tympanic membrane ) ซึ่งสามารถสั่นได้เมื่อได้รับคลื่นเสียง เช่นเดียวกับหนังหน้ากลองเมื่อถูกตีหูส่วนนอกจึงทำหน้าที่รับคลื่นเสียงและเป็นช่องให้คลื่นเสียงผ่าน
             2) หูส่วนกลาง ( Middle ear ) มีลักษณะเป็นโพรง ติดต่อกับโพรงจมูกและมีท่อติดต่อกับคอหอย ท่อนี้เรียกว่า ท่อยูสเตเชียน ( Eustachian tube ) ปกติท่อนี้จะตีบ แต่ในขณะเคี้ยวหรือกลืนอาหารท่อนี้จะขยับเปิดเพื่อปรับความดัน 2 ด้านของเยื่อแก้วหูให้เท่ากัน นอกจากนี้เมื่อความดันอากาศภายนอกลดลงหรือสูงกว่าความดันในหูส่วนกลางอย่างรวดเร็ว ความแตกต่างระหว่างความดันอากาศภายนอกและภายในหูส่วนกลางอาจทำให้เยื่อแก้วหูถูกดันให้โป่งออกไป หรือถูกดันเข้า ทำให้การสั่นและการนำเสียงของเยื่อแก้วหูลดลง เราจะรู้สึกว่าหูอื้อ หรือปวดหู จึงมีการปรับความดันในช่องหูส่วนกลางโดยผ่านแรงดันอากาศบางส่วนไปทางท่อยูสเตเชียน นอกจากนี้ภายในหูส่วนกลางประกอบด้วยกระดูก 3 ชิ้น ได้แก่ กระดูกค้อน  ( Milieus )กระดูกทั่ง ( Incurs ) และ กระดูกโกลน ( Stapes ) ยึดกันอยู่เมื่อมีการสั่นสะเทือนเกิดขึ้นที่เยื่อแก้วหูจะถ่ายทอดมายังกระดูกค้อนและกระดูกทั่ง ทำให้กระดูกหู 2 ชิ้นนี้เคลื่อนและเพิ่มแรงสั่นสะเทือนและส่งแรงสั่นสะเทือนนี้ต่อไปยังกระดูกโกลนเพื่อเข่าสู่หูส่วนในต่อไป คลื่นเสียงที่ผ่านเข้ามาถึงหูส่วนในจะขยายแอมพลิจูดของคลื่นเสียงเพิ่มจากหูส่วนนอกประมาณ 22 เท่า
             3) หูส่วนใน ( Inner ear )  ประกอบด้วยประสาทที่เกี่ยวกับการได้ยินและการทรงตัวของร่างกาย รวมเรียกว่า Labyrinth ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นกระดูก ( Osseous labyrinth ) และส่วนที่เป็นเนื้อเยื่อ ( Membranous labyrinth ) โดยส่วนที่เป็นกระดูกประกอบด้วย Vestibule cochlea และ Semicircular canals มีส่วนที่เป็นเนื้อเยื่ออยู่ภายใน
             - Vestibule เป็นส่วนกลางของ โบนีลาบีรินธ์ ทางหลังติดต่อกับ ช่อง เซมิเซอร์คูลาร์ และทางหน้าติดต่อกับ ช่องโคเคลียร์
             - Semicircular canal มี 3 ช่อง อยู่หลังช่องเวสติบูล ท่อทั้งสามวางตั้งฉากซึ่งกันและกัน จึงให้มีชื่อตามที่อยู่ คือ อันหน้า ( Anterior ) อันหลัง ( Posterior ) และอันใกล้ริม ( Lateral ) ช่องนี้อยู่ในกระดูกประมาณ 2/3 วงกลม ซึ่งปลายหนึ่งจะโป่งออก เรียกว่า แอมพูลลา ( Ampulla ) แต่แอมพูลลาจะมีเพียง 5 รู เนื่อง จากปลายใกล้กลางของช่องอันหน้า ( Anterior ) กับปลายบนของอันหลัง ( Posterior ) รวมกัน
             - Semicircular duct มีลักษณะเป็นท่ออยู่ภายใน Semicircular canal บริเวณของ Semicircular duct ส่วนใดโป่ง Semicircular canal ส่วนนั้นก็โป่งด้วยภายในท่อ Semicircular duct ที่โป่งออก มีสันขวางประกอบด้วยเซลล์รับความรู้สึกเกี่ยวกับ การทรงตัว
             - Cochlea  เป็นโพรงคล้ายก้นหอย ฐานกว้าง 9 มิลลิเมตร จากฐานถึงยอดยาว 5 มิลลิเมตร มีกระดูกเป็น แกนกลางเรียก โมดิโอลุส ( Modiolus ) ยาว 3 มิลลิเมตร โดยมีช่องโค เคลียร์วนรอบโมดิโอลุส ท่อทั้งหมดยาว 32 มิลลิเมตร และมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตรจากกระดูกแกน มีแผ่นกระดูกบาง ( Osseus spiral lamina ) ยื่นออกวนรอบโมดิโอลุส คล้ายตะปูควง ยื่นเข้าไปประมาณครึ่งหนึ่งของช่องโคเคลียร์ จึงแบ่งช่องโคเคลียร์ออกเป็นสองช่องแต่ไม่สมบูรณ์จากปลายของแผ่นกระดูกวนรอบ มี แผ่นพังผืดบาสิลาร์ ( Basilar membrane ) ไปติดกับผนังของช่องโคเคลียร์ ทำให้แบ่งช่องโคเคลียร์เป็นสองช่องโดยสมบูรณ์

             - Cocchlea duct เป็นท่อวนรอบอยู่ภายในช่องโคเคลียร์ เป็นท่อรูปสามเหลี่ยม ด้านล่างเป็นแผ่นบาสิลาร์ และด้านบนเป็นแผ่นเยื่อบาง ๆ อีกแผ่นหนึ่ง เรียกว่า แผ่นเวสติบูลาร์ ( Vestibular membrane ) ขึงจากด้านบนของ แผ่นกระดูกวนรอบไปยังผนังของช่องโคเคลียร์ อีกด้านหนึ่งเป็นแผ่นเยื่อของ ช่องโคเคลียร์ ด้านในช่องโคเคลียร์ที่ด้านบนของแผ่นบาสิลาร์มีอวัยวะสำหรับ รับเสียง ( Organs of corti ) ซึ่งมีเซลล์สำหรับรับความรู้สึกในการได้ยิน.oo
ลักษณะภายในของ Cocchlea


             การทรงตัว ( Equilibrium )
             การทรงตัว จะเกี่ยวข้องกับหูส่วนในเพราะมี Receptors อยู่ที่บริเวณ Vestibular และ Semicircular canals ที่มี Hair cells ติดต่อ Vestibular nerve ( เป็นอีกแขนงหนึ่งของ Vestibulocochlea nerve) และมี Endolymph ซึ่งอยู่ภายในไหลไปกระตุ้น Hair cells ทำให้เกิดกระแสประสาท ขึ้นไปตาม Vestibular nerve เข้าสู่ Cerebellum ในสมองทำให้เกิดความรู้สึกเกี่ยวกับการทรงตัวของร่างกาย

             กลไกการได้ยิน ( Hearing )
             เมื่อคลื่นเสียงผ่านมาทางใบหู รูหู และกระทบกับเยื่อแก้วหู ทำให้เกิดการสั่นสะเทือน และไปกระทบกับกระดูกหู ในหูส่วนกลางทั้ง 3 ชิ้น กระดูกหู จะทำหน้าที่ปรับระดับคลื่นเสียง แล้วถ่ายทอดไปยัง Oval window ทำให้ Perilymph ใน Cochlea มีการเคลื่อนไหวเป็นระลอกคลื่น ซึ่งทำให้ Vestibular membrane มีการเคลื่อนไหว และต่อเนื่องไปถึง Endolymph ที่จะไปกระตุ้นที่ Hair cells ของ organ of corti ที่อยู่ในกระดูกรูปขดหอย Cocchlea เกิดการกระตุ้นของประสาท ซึ่งแปลเป็นสัญญาณประสาทส่งต่อไปตาม Cochlea nerve ( เป็นแขนงหนึ่งของ Vestibulocochlea nerve ) เข้าสู่ Auditory area ในสมองแล้วแปลผลเป็นเสียงต่างๆ ที่เราสามารถได้ยิน


3. การได้กลิ่น ( Olfactory sense )
             อวัยวะที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้กลิ่นคือ จมูก ( Nose ) บริเวณที่เกี่ยวกับการได้กลิ่นิยู่ที่ผิวภายในจมูก ส่วนบนเรียกว่า Olfactory region  ประกอบด้วยเยื่อบุผิวที่เกี่ยวข้องกับการได้กลิ่น เป็นแผ่นเล็กๆ มีเยื่อจากเซลล์  เยื่อบุจมูกมี  เซลล์ประสาทรับกลิ่น ( Olfactory neuron) ที่สามารถเปลี่ยนสารที่ทำให้เกิดกลิ่นเป็นกระแสประสาทแล้วส่งต่อไปตาม เส้นประสาทรับกลิ่น ( Olfactory nerve ) ซึ่งเป็นเส้นประสาทสมองคู่ที่ 1 ผ่านออลแฟกทอรีบัลบ์ เพื่อส่งต่อไปยังสมองส่วนเซรีบรัมให้แปลเป็นกลิ่นต่อไปดังภาพที่ 7
o[p
โครงสร้างภายในของจมูก


4. การรับรส ( Taste or Gustatory sense )
             อวัยวะที่เกี่ยวกับการรับรส คือ ลิ้น ( Tonque ) ตรงบริเวณพื้นผิวของลิ้นมี Mucous membrane ที่ยื่นนูนออกมา ตุ่มนูนนี้ เรียกว่า Papillae จะประกอบด้วย ตุ่มรับรส ( Taste buds ) ใน Papillae หนึ่งอัน จะประกอบด้วย Taste buds อยู่ประมาณ 250 อัน เป็น receptors สำหรับรับรส การรับรสต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ต่อ taste buds ซึ่งมีเซลล์ประสาทรับรส คือ ประสาทสมองคู่ที่ 7 ( Facial nerve ) และคู่ที่ 9 ( Glossopharyngeal nerve ) ไปยังศูนย์กลางการรับรส ตั้งอยู่ด้านล่างสุดของ Post central Gyrus ในCerebral cortex
99
ลักษณะของปุ่มรับรส บน Papilla ของลิ้น

ตำแหน่งการรับรส
77

ตำแหน่งรับรส
             ส่วนใหญ่ของ Taste buds พบที่ด้านหน้าและด้านข้างของลิ้น พบข้างบนต่อมทอนซิล และรอบๆ Nasopharynx โดยทั่วไปการรับรสบนลิ้น จะรับรสได้ 4 ชนิด คือ
             1) รสเปรี้ยว ( Sour ) อยู่ด้านข้างของลิ้นทั้งสองข้าง
             2) รสหวาน ( Sweet ) รับได้ดีที่ปลายลิ้น
             3) รสเค็ม ( Salt ) รับได้ที่ด้านข้างค่อนไปทางปลายลิ้นทั้งสองข้าง
             4) รสขม ( Bitter ) อยู่กลางโคนลิ้น

ที่มา :
https://anatomyfivelife.wordpress.com/
https://nkw04932.wordpress.com

Comments

Popular posts from this blog

สมองของเรานั้นเป็นอย่างไร ???

สมองของเรานั้นทำอะไรบ้าง??? เรื่องการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ