สมองของเรานั้นทำอะไรบ้าง??? เรื่อง อื่นๆ
สมองกับความฉลาด และความคิดเราไม่สามารถบอกได้ว่า สมองส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือจุดใดจุดหนึ่ง มีหน้าที่เกี่ยวกับ ความฉลาด และความคิด แต่เชื่อกันว่า สมองส่วนใหม่ ที่เรียกว่า นีโอคอร์เท็กซ์ มีหน้าที่เกี่ยวกับ ความฉลาด และความคิด
ความฉลาด ( Intelligence ) เป็นสิ่งที่เราใช้ในการตัดสินใจเรื่อง ต่าง ๆ หรือเป็นสิ่งที่มาจาก สมอง และความรู้สึกนึกคิด ถ้าสมองยิ่ง สลับซับซ้อนมาก และพัฒนาได้สมบูรณ์ สมองจะมีความสามารถ ที่จะเรียนรู้ และมีประสบการณ์มากขึ้น ขณะเดียวกันก็เก็บข้อมูล ใส่กลับเข้าไปในสมอง ทำให้สมองมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ประสบการณ์ที่เราได้มานั้น ทำให้พฤติกรรมการตอบสนอง ของเราต่อสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปด้วย
สมองของเราเป็นสิ่งมหัศจรรย์มาก เซลล์ประสาทสามารถที่จะเก็บข้อมูล แปลข้อมูลที่เข้ามาเป็นคลื่นกระแสไฟฟ้า แล้วเก็บไว้เป็น ประสบการณ์อยู่ในสมอง เปรียบได้กับ คลื่นไฟฟ้าที่โทรทัศน์รับเข้ามา แล้วแปลออกมาเป็นภาพบนจอให้เราเห็น คลื่นสมอง หรือคลื่นไฟฟ้าในสมองจะเป็นตัวกำหนดลักษณะ ของสิ่งที่เรารับรู้ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะทางกายภาพ สติปัญญา อารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด ความรู้สึกตัว และอื่น ๆ ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ ยังสร้างสนามกระแสไฟฟ้าที่เฉพาะเจาะจง อย่างเช่น สนามกระแสไฟฟ้าที่เฉพาะ สำหรับคณิตศาสตร์ หรือเฉพาะสำหรับดนตรี ศาสนา หรืออื่น ๆ ซึ่งจะรับแต่กระแสไฟฟ้าที่เหมือน ๆ กันเข้ามาอยู่ในสนามเดียวกัน
ความจำดร.วิลเดอร์ เพนฟิลด์ ( Dr.Wilder Penfield ) แพทย์ผ่าตัดสมองที่มีชื่อเสียงมาก ได้ผ่าตัดสมองคนไข้ประมาณ 1,500 คน และทำการเลื่อยเปิด กะโหลกศีรษะออก โดยไม่ได้ใช้ยาสลบแต่ใช้ยาชา คนไข้ตื่นตลอดเวลาแต่ไม่รู้สึกเจ็บปวดเลย เมื่อ ดร.เพนฟิลด์ ใช้เข็มจี้ที่สมอง เพราะว่าเนื้อสมองจะไม่มีอวัยวะรับความรู้สึก สิ่งนี้ทำให้เขาได้ค้นพบข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับ สมอง
นักวิจัยได้เสนอ ทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับ เรื่อง ความจำ เรารู้ว่าเซลล์ประสาทเซลล์เดียวไม่สามารถจะมีความจำที่เฉพาะเจาะจงได้ จะต้องเป็นการทำงานของกลุ่มเซลล์ประสาท แต่การทดลองของ ดร.เพนฟิลด์ แสดงให้เห็นว่าเซลล์ประสาท 1 เซลล์ สามารถที่จะมีความจำเฉพาะเจาะจงได้ เซลล์ประสาทนี้เป็นเซลล์ที่มีเป้าหมายเฉพาะเจาะจง หรือ ทาร์เก็ตเซลล์ ( Target cell ) แล้วเซลล์ประสาทนี้เองเป็นจุดรวมของกลุ่มของเซลล์ประสาทหลาย ๆ เซลล์รวมกัน ทำงาน เพื่อที่จะสร้างความจำขึ้นมาอย่างเฉพาะเจาะจง ซึ่งทาร์เก็ต เซลล์ และกลุ่มของเซลล์ประสาทนี้ อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายที่ใหญ่ต่อไปอีก และแต่ละเครือข่ายก็จะมีปฏิกิริยาซึ่งกัน และกัน กลุ่มของเซลล์ประสาทกลุ่มนี้จะติดต่อกับเซลล์ประสาทกลุ่มอื่น มีเส้นใยประสาทที่ติดต่อถึงกันอย่างสลับซับซ้อน ซึ่งผลลัพท์ของการเชื่อมโยง ของเซลล์ประสาทหลาย ๆ เซลล์นี้เองทำให้มีประจุไฟฟ้าสูงสุดในกลุ่มของเซลล์ประสาท ( Peak Of Activity In Population Of Neuron ) และผลก็คือ เกิดความจำ
เซลล์ประสาทที่เป็นเป้าหมาย หรือทำหน้าที่เฉพาะเจาะจง หรือเป็นกุญแจสำคัญอาจจะเป็นตัวเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ ประวัติส่วนตัว อย่างไรก็ตาม เซลล์ประสาทเหล่านี้คงมีไม่เกิน 1 ล้านเซลล์ เพราะโดยทั่วไปสมองเราจะมีเซลล์ประสาทอยู่ประมาณ 1 แสนล้านเซลล์ แสดงว่า เซลล์ประสาท เหล่านี้จะมีไม่เกิน 0.000001 % ซึ่งสมอง ไม่สามารถไปดึงข้อมูลออกมาจากเซลล์ประสาทเซลล์เดียวได้ โดยทั่วไปเราจะดึงข้อมูล ออกมาจาก กลุ่มเซลล์ประสาททั้งกลุ่มที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับ ความจำ ซึ่งความจำนี้ค่อนข้างจะลางเลือน ไม่ชัดเจนเหมือนกับที่ ดร.เพนฟิลด์ ทำการกระตุ้นเซลล์ประสาท 1 เซลล์
ความจำของคนเรายังมีอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า เวิร์กกิ้งเมมโมรี่ ( Working Memory ) ซึ่งเป็นความจำระยะสั้น ที่เมื่อได้รับข้อมูลมาแล้ว ก็จะเอาข้อมูลนี้มาใช้ในการทำงาน หรือส่งไปเก็บ หากว่าเป็นสิ่งใหม่ที่ยังไม่เคยเห็น หรือเรียนรู้มาก่อน สมองส่วนที่ทำงานในเรื่อง ของความจำแรกเริ่มเมื่อได้รับข้อมูลที่เรียกว่า เวิร์กกิ้งเมมโมรี่ นี้ (ซึ่งอยู่ในสมองด้านหน้าทางขวา และทางซ้าย อยู่ลึกเข้าไป 1 นิ้ว จากหน้าผาก มีขนาดเท่าแสตมป์ หรือมีขนาดไม่เกิน 1 นิ้ว) ก็จะทำหน้าที่เป็นสมุดทดชั่วคราวในสมอง ข้อมูลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพ เสียง กลิ่น ข้อมูลทุกอย่างจะถูกส่งมาที่สมองส่วนนี้ก่อน หลังจากนั้นถ้าหากไม่ถูกใช้ก็จะถูกลบทิ้งไป หรือหากต้องการเก็บไว้เป็นความจำระยะยาวก็จะส่งต่อไปยังสมองส่วนลึกลงไป คือ ฮิปโปแคมปัส ที่ทำหน้าที่เก็บความจำระยะยาว เช่น เดียวกัน ถ้าเราต้องการจะนึกถึงหมายเลขโทรศัพท์ หรือเมื่อเห็นหน้าคนคนหนึ่งแล้วพยายามจะนึกว่าคนนี้คือใคร หรือถ้าเราต้องการ คิดเลข หรือเขียนหนังสือให้เป็นประโยค ก็ต้องใช้สมองส่วนเวิร์กกิ้งเมมโมรี่นี้เช่น กัน คือ จะต้องส่งข้อมูล ไปที่สมองส่วนนี้ เพื่อจะลงไปที่สมองส่วนลึกลงไปเพื่อจะค้นหาข้อมูลที่ต้องการ เพราะฉะนั้น สมองส่วนนี้ จึงเรียกว่า ช็อตเทอมเมมโมรี่ ( Short Term Memory ) หรือ ออนไลน์เมมโมรี่ ( On Line Memory ) หรือเป็นกระดานดำของสมอง
การเรียนรู้ภาษา
ภาษาเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์ กล้ามเนื้อของเรามีการเคลื่อนไหวตอบสนองต่อเสียงแบบอัตโนมัติ ซึ่งเกิดขึ้น ตั้งแต่เป็นทารก ในครรภ์อายุประมาณ 7 เดือน และหลังคลอดสมองก็พร้อมที่จะทำงานได้ทันที เพราะเส้นใยประสาท และระบบประสาท ทั้งหลายมีพร้อมอยู่แล้ว ต้องการเพียงแค่สิ่งกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมเท่านั้น ก็จะเกิดการเรียนรู้ภาษาขึ้น ต่อคำถามว่า เด็กเรียนรู้ที่จะพูด ได้อย่างไร ก็ต้องรู้ว่าสมองเกี่ยวกับ การพูดทำงานอย่างไร การพูดของคนเราเกิดจากการทำงาน ของกลุ่มเซลล์ประสาท ที่ติดต่อถึงกัน เพื่อสร้างคำพูดขึ้นมา ซึ่งแต่ละคำอาจจะมีความเกี่ยวเนื่องกับคำอื่น ๆ ด้วย เพราะฉะนั้นในกลุ่มเซลล์ประสาทที่สร้างคำพูดนี้ ยังแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ เพื่อที่จะใช้เรียกคำแต่ละคำ สิ่งของแต่ละสิ่ง เช่น ผลไม้ ดอกไม้ หน้าตา หรืออื่น ๆ ด้วยการทำงาน ติดต่อกันของกลุ่มเซลล์ประสาท ทั้งหมด หรือระหว่างกลุ่มเซลล์ประสาทกลุ่มย่อย ๆ นี้ จึงทำให้เกิดการเรียนรู้ภาษาขึ้น นอกจากนั้น ยังมีการใส่คำใหม่ ๆ เข้าไปในสมอง หรือเรียนรู้คำใหม่ ๆ ตลอดเวลา ซึ่งเกิดจากมีการเปลี่ยนแปลงการเชื่อมโยง ระหว่าง กลุ่มเซลล์ประสาทกลุ่มเก่า กับกลุ่มใหม่อยู่ตลอดเวลา การติดต่อไปมาอย่างนี้ ในที่สุดสมองทุกส่วนก็จะล่วงรู้คำคำใหม่ ยกตัวอย่างเช่น ในคนไข้ที่เป็นโรคสมองอักเสบ คือ มีความผิดปกติในเซลล์ประสาทกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ทำให้เสียความสามารถ ในเรื่อง ของภาษาที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเซลล์ประสาทกลุ่มนั้น ทำให้ไม่สามารถเรียกชื่อบางชื่อได้ เช่น ไม่สามารถจะเรียก “ดอกไม้” ได้ เพราะโรคสมองอักเสบ ได้ทำลาย กลุ่มเซลล์ประสาท ที่ทำหน้าที่เรียกคำว่า “ดอกไม้”
ในเรื่อง ความเข้าใจภาษานั้น สังเกตได้จากการเรียนรู้ภาษาใหม่ ๆ ของเรา คือ เมื่อเราได้รับการสอนให้อ่านออกแล้ว เราสามารถเกิดความเข้าใจข้อความที่อ่านทั้งหมดแม้ว่าในข้อความนั้นอาจจะมีคำใหม่ ๆ บางคำที่เราไม่เข้าใจแทรกอยู่ก็ตาม โดยไม่จำเป็นต้องไปเปิดพจนานุกรมดูความหมายคำที่ไม่เข้าใจ สมองจะพยายามใช้ความเข้าใจประโยคทั้งหมดเพื่อจะแปลคำใหม่นี้ หลังจากที่แปล คำใหม่ได้แล้ว สมองจะพยายามเก็บคำใหม่นี้ไว้ในสมอง
ส่วนในเรื่อง การออกเสียง จะพบว่าการออกเสียงที่เรียกว่า โฟเนติก ( Phonetic ) คือ การเปล่งเสียงออกมาเป็นคำ ๆ พบข้อมูลที่น่าสนใจว่า ถึงแม้ภาษาที่คนทั่วโลกใช้จะมีเป็นพัน ๆ ภาษา แต่ว่าแต่ละภาษาสร้างขึ้นจากการเปล่งเสียงออกมาเป็นคำ ๆ ประมาณแค่ 50 เสียงเท่านั้น ซึ่งเหมือนกับเลขคณิตที่ใช้ตัวเลขแค่ 0-9
บุคลิกภาพมีความสำคัญต่อชีวิตเราอย่างยิ่ง ทำให้เรารู้สึกถึงความสำคัญของตัวเอง เราจะไม่มีทางรู้ได้เลยว่าชีวิตของเราจะเป็นอย่างไร ถ้าเราไม่รู้ว่า ขณะนี้ตัวเราเป็นคนอย่างไร และเราจะไม่มีทางเข้าใจว่าขณะนี้เราเป็นคนอย่างไร ถ้าไม่รู้ว่าเราควรจะเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้น สิ่งสำคัญที่สุด เราจะต้องค้นพบตัวเอง และเป็นตัวของตัวเอง
ทฤษฎีหนึ่งที่เกี่ยวกับ บุคลิกภาพอาศัยความสัมพันธ์ระหว่าง อารมณ์ และความสามารถในการรู้ตัวเอง ( Self Awareness ) ถือเป็นความฉลาด อย่างหนึ่ง เพราะการที่เราจะรู้ตัวเอง หรือรู้พฤติกรรมของเราเองได้นั้น ขึ้นอยู่กับว่าเรามองตัวเราอย่างไร เมื่อเทียบกับสิ่งแวดล้อมในโลกนี้ และเราจะควบคุมพฤติกรรมของเราได้อย่างไร ซึ่งความสามารถที่จะจัดการ และควบคุมชีวิตเรานี้ เป็นความสามารถที่เรียกว่า ประสิทธิภาพส่วนบุคคล ( Self Efficacy ) คนที่มีประสิทธิภาพส่วนบุคคลสูง จะมีความมั่นใจในการมี พฤติกรรมโต้ตอบที่ถูกต้อง แต่คนที่มีประสิทธิภาพในตัวเองต่ำจะมีความกระวนกระวาย มีความกังวลเมื่อจะต้องมีการโต้ตอบต่อ สิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจจะอยู่นอกเหนือการควบคุมของคนคนนั้น ความรู้ตัว และประสิทธิภาพส่วนตัวนี้เองจะรวมกันเป็นบุคลิกภาพขึ้น
ที่มา:
https://nkw04932.wordpress.com
ในเรื่อง ความเข้าใจภาษานั้น สังเกตได้จากการเรียนรู้ภาษาใหม่ ๆ ของเรา คือ เมื่อเราได้รับการสอนให้อ่านออกแล้ว เราสามารถเกิดความเข้าใจข้อความที่อ่านทั้งหมดแม้ว่าในข้อความนั้นอาจจะมีคำใหม่ ๆ บางคำที่เราไม่เข้าใจแทรกอยู่ก็ตาม โดยไม่จำเป็นต้องไปเปิดพจนานุกรมดูความหมายคำที่ไม่เข้าใจ สมองจะพยายามใช้ความเข้าใจประโยคทั้งหมดเพื่อจะแปลคำใหม่นี้ หลังจากที่แปล คำใหม่ได้แล้ว สมองจะพยายามเก็บคำใหม่นี้ไว้ในสมอง
ส่วนในเรื่อง การออกเสียง จะพบว่าการออกเสียงที่เรียกว่า โฟเนติก ( Phonetic ) คือ การเปล่งเสียงออกมาเป็นคำ ๆ พบข้อมูลที่น่าสนใจว่า ถึงแม้ภาษาที่คนทั่วโลกใช้จะมีเป็นพัน ๆ ภาษา แต่ว่าแต่ละภาษาสร้างขึ้นจากการเปล่งเสียงออกมาเป็นคำ ๆ ประมาณแค่ 50 เสียงเท่านั้น ซึ่งเหมือนกับเลขคณิตที่ใช้ตัวเลขแค่ 0-9
บุคลิกภาพของแต่ละคน จะเป็นสิ่งประจำตัวของคนคนนั้น ที่ทำให้แตกต่างจากคนอื่น และมีหลายสิ่งหลายอย่าง ที่จะประกอบกัน ทำให้คนแต่ละคน มีบุคลิกภาพเป็นของตัวเอง ซึ่งเป็นผลมาจากการทำงานประสานกัน ของสมองที่ขึ้นอยู่กับพันธุกรรม และประสบการณ์ ที่ได้รับ จากสิ่งแวดล้อม
การสร้างบุคลิกภาพ
บุคลิกภาพมีความสำคัญต่อชีวิตเราอย่างยิ่ง ทำให้เรารู้สึกถึงความสำคัญของตัวเอง เราจะไม่มีทางรู้ได้เลยว่าชีวิตของเราจะเป็นอย่างไร ถ้าเราไม่รู้ว่า ขณะนี้ตัวเราเป็นคนอย่างไร และเราจะไม่มีทางเข้าใจว่าขณะนี้เราเป็นคนอย่างไร ถ้าไม่รู้ว่าเราควรจะเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้น สิ่งสำคัญที่สุด เราจะต้องค้นพบตัวเอง และเป็นตัวของตัวเอง
ทฤษฎีหนึ่งที่เกี่ยวกับ บุคลิกภาพอาศัยความสัมพันธ์ระหว่าง อารมณ์ และความสามารถในการรู้ตัวเอง ( Self Awareness ) ถือเป็นความฉลาด อย่างหนึ่ง เพราะการที่เราจะรู้ตัวเอง หรือรู้พฤติกรรมของเราเองได้นั้น ขึ้นอยู่กับว่าเรามองตัวเราอย่างไร เมื่อเทียบกับสิ่งแวดล้อมในโลกนี้ และเราจะควบคุมพฤติกรรมของเราได้อย่างไร ซึ่งความสามารถที่จะจัดการ และควบคุมชีวิตเรานี้ เป็นความสามารถที่เรียกว่า ประสิทธิภาพส่วนบุคคล ( Self Efficacy ) คนที่มีประสิทธิภาพส่วนบุคคลสูง จะมีความมั่นใจในการมี พฤติกรรมโต้ตอบที่ถูกต้อง แต่คนที่มีประสิทธิภาพในตัวเองต่ำจะมีความกระวนกระวาย มีความกังวลเมื่อจะต้องมีการโต้ตอบต่อ สิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจจะอยู่นอกเหนือการควบคุมของคนคนนั้น ความรู้ตัว และประสิทธิภาพส่วนตัวนี้เองจะรวมกันเป็นบุคลิกภาพขึ้น
ที่มา:
https://nkw04932.wordpress.com
Comments
Post a Comment